บอยเลอร์ คูลลิ่ง เครื่องทำความเย็น คูลลิ่งทาวเวอร์ สารเคมีความเย็น คอนเดนเซอร์ การใช้งานบอยเลอร์ steam boiler เครื่องกำเนิดไอน้ำ เคมีบอยเลอร์
Looking For Chemical, Boiler, Condenser Cleaning , Evaporator
งานบริการ รับล้างบอยเลอร์ คอนเดนเซอร์ ล้างคูลลิ่ง เคมีบำบัดน้ำเสีย
Condenser & Evaporator
For more Informationงานบริการ รับล้างบอยเลอร์ คอนเดนเซอร์ ล้างคูลลิ่ง เคมีบำบัดน้ำเสีย
Sunday, July 26, 2015
Condenser & Evaporator
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องควบแน่น(Condenser) หรือเครื่อองทำการระเหยไอน้ำ(evaporator) ต่างเป็นเครื่องมือที่ให้ในการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างบรรยากาศที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังชั้นที่อุณหภูมิต่ำกว่า โดยการจำแนกเครื่องมือทั้งสองชนิดนี้สามารถสังเกตได้จากตำแหน่งการไหลของสารทำความเย็นว่าอยู่ภายในหรือภายนอกท่อ และสสารตัวกลางในกระบวนการ หากเป็นของเหลวที่รับความร้อนสำหรับเครื่องควบแน่น หรือแก๊สสำหรับเครื่องทำความเย็น
หน้าที่ของ Condenser
คือแลกเปลี่ยนความร้อนให้เกิดการกลั่นตัวของไอน้ำที่ไหลมาตามท่อ Turbine โดยดึงความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอออกมากลั่นไอน้ำจนกระทั้งได้ของเหลว และยังสามารถรักษา Back Pressure ของ Turbine Exhaust ให้ต่ำกว่าความดันบรรยากาศ เพื่อใช้พลังงานให้คุ้มค่าที่สุด โดยนำน้ำที่กลั่นตัวจากไอกลับมาใช้ได้อีกเพราะเป็นระบบปิด อีกทั้งยังแยกส่วนที่เป็นแก๊ส ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับระบบไอน้ำออกจากระบบ
Heat-transfer Coefficient
ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวม ของทั้งเครื่องทำระเหยและเครื่องควบแน่นจะมีสัดส่วนเป็นค่าคงที่ ซึ่งเมื่อหาผลรวมด้วยพื้นที่ถ่ายเทความร้อน และความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิเฉลี่ยของเหลว ภายใต้สภาวะปรกติการถ่ายเท
ความร้อนจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
1. การถ่ายเทความร้อนจากสารนำความเย็นสู้ภายนอกที่ผิวสัมผัสท่อ
2. การถ่ายเทความร้อนจากภายนอกสู่ภายใน
3. การถ่ายเทความร้อนจากผิวด้านในสู่ผิวด้านนอก
ขณะที่ของเหลวไหลผ่านเครื่องควบแน่นหรื่อเครื่องทำระเหยไอน้ำ จะทำให้ความดันรวมภายในลดต่ำลง ซึ่งเกิดขึ้นทั้งช่วงที่ท่อตรงและท่อโค้งรูปตัว U จากทฤษฎีระบบปิดที่กล่าวถึงหากเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนเเละพลังงาน จะต้องไม่มีการสูญเสียสสารใดๆ กล่าวคือการระเหยของน้ำเเละการควบเเน่นของไอน้ำจะได้ปริมาณน้ำกลับคืนมาเท่าเดิม ไม่มีส่วนใดหายออกไปจากระบบ ซึ่งเรามักคุ้นเคยการเรียกช่างมาเพื่อเติมสารนำความเย็นที่ระเหยออกไป นั้นเป็นเพราะมีรอยรั่วเกิดขึ้นจนกลายเป็นระบบเปิด ที่สามารถแลกเปลี่ยนอุณหภูมิกับภายนอกได้ ซึ่งต้องได้รับการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment